KU FUND



                             KU FUND คือกองทุนที่มีการลงทุนในรูปแบบของ HEDGEFUND โดย การลงทุนของ KU FUND ใช้คำว่า การยึดครองพื้นที่ คือ การพยามยึดครองพื้นที่ให้ได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆโดยใช้เงินที่เท่าเดิมเดิม หรือ น้อยลงนั่นเอง โดยพื้นที่ที่เราเข้าไปทำการยึดครองนั้นต้องเป็นสิ่งที่มีค่า เช่นใช้กลยุทธ์ยึดครองพื้นที่กับ ETF ทองคำ , ครอบครอง ETF Index และ สะสมหุ้น ซึ่งในระบบทุนนิยมเราทุกคนต่างพยายามสะสมของที่เราคิดว่าจะมีค่าโดยพยามใช้ทุน ที่เรามีอยู่เพื่อต่อยอดออกไปโดยวิธีการต่างๆ

        กลยุทธ์ของ KUFUND
        กลยุทธ์การลงทุนของ KUFUND
        Directional Strateg
        เป็นวิธีการลงทุนที่ใช้การคาดเดาทิศทางของตลาดในอนาคต เพื่อที่จะจัดพอร์ตการลงทุนให้สอดคล้องกับที่คาดการณ์ เช่นในกรณีที่คาดว่าตลาดจะปรับตัวขึ้นก็จะต้องซื้อหุ้น และถ้าคาดว่าตลาดจะปรับตัวลงก็จะขายชอร์ตหุ้น เพื่อทำกำไร เป็นต้น จะมีความเสี่ยงของตลาดหลักทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงไป แต่สามารถปรับเพิ่มหรือลดความเสี่ยงของตลาดได้ตามสถานะ Long/Short
       Market Neutral Strategy
        เป็นวิธีการลงทุนที่ต้องการกำจัดความเสี่ยงของตลาด (Market Risk) ออก การที่ไม่มีความเสี่ยงของตลาด กองทุนก็จะไม่ได้รับผลตอบแทนของตลาด ดังนั้นผลตอบแทนที่จะได้รับจะมาจากการเลือกหุ้นที่จะลงทุน(long Position) และหุ้นที่จะขายชอร์ต (Short Position)  ตัวอย่างเช่น ถ้ากองทุนมีเงินลงทุน 100 บาท กองทุนที่เป็น Market Neutral จะทำการซื้อหุ้น A 100 บาท ขายชอร์ตหุ้น B 100 บาท และถือเงินสดไว้ 100 บาท โดยสิ่งที่กองทุนคาดหวังคือการที่หุ้น A จะปรับตัวขึ้นมากกว่าหุ้น B เพื่อให้กองทุนมีผลกำไร
        วิธีการ Market Neutral Strategy  จะไม่ให้ความสนใจกับสภาพตลาดรวม คือในสภาวะที่ตลาดปรับตัวขึ้นผลตอบแทนอาจไม่ปรับตัวขึ้นหรือปรับตัวขึ้นสูงหรือต่ำกว่าตลาด ในขณะที่ตลาดปรับตัวลง ผลตอบแทนอาจจะไม่ปรับตัวลงหรืออาจะปรับตัวลงต่ำหรือสูงกว่าตลาดก็ได้ หากเปรียบเทียบวิธีการลงทุนแบบ Market Neutral Hedge Fund  กับการลงทุนของกองทุนทั่วไป จะพบความแตกต่างตรง ที่กองทุนรวมทั่วไปต้องการที่จะสร้างผลตอบแทนให้ชนะตลาดด้วยการใช้กลยุทธ์การลงทุนในหุ้นที่ผู้จัดการกองทุนคัดเลือกแล้วว่าดีและคิดว่าจะขึ้น โดยจะไม่มีการขายชอร์ต (long-only strategy)  ดังนั้นผลตอบแทนจึงมักมีทิศทางเดียวกับตลาดคือ ในขณะที่ตลาดปรับตัวลงกองทุนก็ปรับตัวลงแต่อาจจะมากหรือน้อยกว่าตลาดบ้าง และในขณะที่ตลาดปรับตัวขึ้น ผลตอบแทนก็ปรับตัวขึ้นแต่อาจจะมากหรือน้อยกว่าตลาดบ้างเช่นกัน
     
       Event-Driven Strategy
        หมายถึง การหาโอกาสลงทุนในหุ้นหรือตราสารที่ผู้จัดการกองทุนคิดว่าราคาตลาดไม่ได้สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของตราสารนั้นๆ เนื่องจากมีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ออกตราสารนั้นเช่น มีการควบรวมกิจการ มีการลดขนาดกิจการ มีการปรับโครงสร้างกิจการ เป็นต้น
        Event driven strategy  ที่นิยมทำกันอย่างแพร่หลายคือ Merger Arbitrage หรือเรียกได้อีกอย่างว่า risk arbitrage ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทที่กำลังจะประกาศการเข้าซื้อกิจการ โดยปกติเมื่อบริษัทประกาศเจตนารมณ์ที่จะเข้าซื้อกิจการอื่น บริษัทจะทำคำเสนอซื้อหุ้นของกิจการในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดในขณะนั้น ซึ่งจะมีผลทำให้ราคาตลาดขยับขึ้นมาสูงกว่าราคาเสนอซื้อ แต่จะไม่มีผลทำให้ราคาเสนอซื้อสูงขึ้นเพราะยังมีความไม่แน่นอนเนื่องจากการเข้าซื้อกิจการยังไม่เกิดขึ้น เหตุการณ์บางอย่าง เช่น การป้องกันการผูกขาด การออกเสียงคัดค้านของผู้ถือหุ้นที่ไม่ได้รับประโยชน์จากการควบรวมกิจการ และเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด อย่างเช่นสภาวะตลาดตกต่ำ หรือสงคราม อาจทำให้เกิดการชะงักของแผนการดำเนินการควบรวมและทำให้แผนการไม่สามารถปฏิบัติได้จริงในสภาวะเศรษฐกิจและการเมืองในขณะนั้น
        โดย ถ้าแผนการดำเนินการควบรวมล้มเหลว ราคาของหลักทรัพย์บริษัทนั้นจะตกลงในระดับที่ต่ำกว่าราคาตลาดก่อนการประกาศเข้าซื้อกิจการทันที หรือที่เรียกว่า deal risk  ผู้ถือหุ้นหลายรายยอมรับความเสี่ยงและถือครองหลักทรัพย์ด้วยความหวังว่าแผนการควบรวมกิจการจะสำเร็จ แต่สำหรับผู้ถือหุ้นที่ตัดสินใจขายหลักทรัพย์ ณ ราคาตลาดปัจจุบันเพื่อลดความเสี่ยง Merger arbitragers จะเข้ามามีบทบาทในฐานะผู้ซื้อ
        โดยการทำ Merger arbitrage จะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในการประเมิน deal risk จะวิเคราะห์จากเศรษฐกิจ การเมืองท้องถิ่นเพื่อประเมินอารมณ์ของผู้ถือหุ้น วิเคราะห์ส่วนต่าง (spread) ของราคาเสนอซื้อและราคาตลาดเพื่อประเมินราคาหลักทรัพย์ และประเมิน deal risk และ liquidity spread ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการในการขายหุ้นของผู้ถือหุ้น Merger arbitragers จะเข้ามาช้อนซื้อหลักทรัพย์เมื่อรู้สึกว่า liquidity spread สูงพอ เพื่อแลกกับ deal risk ที่สูงขึ้น การป้องกันความเสี่ยงของ Merger arbitragers ทำได้โดยการขายชอร์ตหุ้นของบริษัทที่ทำการเสนอซื้อ ซึ่งเป็นการทำ  market neutral hedge แต่จะเพิ่มความเสี่ยงจาก deal risk
        ซึ่งปกติแล้วราคาของหุ้นของบริษัทที่ทำการเสนอซื้อจะลดลงก่อนแผนการควบรวมจะเกิดขึ้น ซึ่งราคาจะลดลงมากถ้านักลงทุนรู้สึกว่าบริษัททำราคาเสนอซื้อที่สูงเกินไป ถ้าแผนการควบรวมกิจการสำเร็จ กำไรที่ Merger arbitragersได้ จะมาจากราคาหุ้นที่ลดลงของบริษัทที่ทำการเสนอซื้อ ในทางกลับกัน ถ้าแผนการควบรวมกิจการไม่สำเร็จ จะเกิดการขาดทุนเนื่องมาจากราคาหุ้นที่ดีดตัวขึ้น Event driven strategies แบบอื่นๆจะเน้นการลงทุนในบริษัทที่ขายแยกทรัพย์สิน บริษัทจดทะเบียนใหม่ และรวมถึงบริษัทที่ยื่นขอพิทักษ์ทรัพย์จากการล้มละลาย หรือบริษัทที่มีปัญหา แต่สิ่งที่ทุกกลยุทธ์มีเหมือนกันคือการหาช่องในการทำกำไรจากสภาพคล่อง โดยการซื้อสิ่งที่คนอยากขาย และขายสิ่งที่คนอยากซื้อ ซึ่งสามารถทำกำไรได้ แต่อาจขาดทุนได้ในบางครั้ง
        Multi Strategy
        Multi-Strategy  หมายถึงกลยุทธ์ที่บริหารจัดการโดยทีมการลงทุนมากกว่า 1 ทีม แต่ใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบเดียวกัน  ซึ่ง ได้พัฒนาเปลี่ยนไปเป็นการบริหารจัดการโดยบริษัทจัดการลงทุนเพียง 1 แห่ง แต่ใช้กลยุทธ์การลงทุนหลายๆ แบบ กลยุทธ์ประเภท Multi-Strategy ซึ่งได้รับความนิยมในวงการ เฮดจ์ฟันด์ และ คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 18% ของกองทุนประเภท เฮดจ์ฟันด์ ทั้งหมด
       Fund of Hedge Funds
       กลยุทธ์นี้เป็นการนำเงินไปลงทุนในกองทุนเฮดจ์ฟันด์หลายๆ กองที่บริหารโดยหลายบริษัทจัดการ โดยอาจจะเป็นกองทุนแบบ Single Strategy หรือ กองทุนแบบ Multi-Strategy ก็ได้ กองทุน Fund of Hedge Funds ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ต้องการหาผลตอบแทนสุทธิที่เป็นบวก (Absolute Return) โดยการสร้างผลตอบแทนที่มั่นคง สม่ำเสมอ และมีความผันผวนต่ำ กลยุทธ์ประเภทนี้ มีข้อได้เปรียบซึ่งมาจากเหตุผลหลายประการ ดังนี้
        A. การที่มีกลยุทธ์การลงทุนที่ตายตัวรูปแบบเดียวส่วนใหญ่มีข้อกำหนดเรื่องจำนวนเงินขั้นต่ำในการลงทุนไว้ในระดับสูง ทำให้ผู้ลงทุนที่สามารถเข้าถึงได้มีจำนวนน้อยกว่า อีกทั้งการที่นักลงทุนนำเงินจำนวนมากมาลงทุนในกองทุนแบบกลยุทธ์เดียวเพียงกองเดียวถือว่าไม่เหมาะสม เนื่องจากไม่มีการกระจายความเสี่ยงที่ดีพอ หากจะถือได้ว่ามีการกระจายความเสี่ยงอย่างเพียงพอแล้ว ควรจะต้องลงทุนในกองทุนแบบกลยุทธ์เดียวอย่างน้อย 5-10 กองทุน
        B.กลยุทธ์  Fund of Funds  มีข้อได้เปรียบ เช่น
        - มีลำดับของการบริหารจัดการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน มีการทำการวิเคราะห์และตรวจสอบ เฮดจ์ฟันด์ ที่จะลงทุนอย่างละเอียดโดยมืออาชีพ และมีมาตรการในการควบคุมความเสี่ยงในการลงทุนที่รอบคอบ
        - มีข้อกำหนดเรื่องวงเงินลงทุนขั้นต่ำที่ค่อนข้างต่ำกว่า เฮดจ์ฟันด์ ประเภทอื่น
        - มีการกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสมภายใต้โครงสร้างของกองทุนกองเดียว

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

HR