FUND CONCEPTUAL AND IDEA



ที่มาของกองทุนมาจาก
การเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของหุ้นคุณค่าและหุ้นเติบโตของหลักทรัพย์ที่อยู่ในดัชนี SET 100
Comparison of Return and Risk of Value Stock and Growth Stock in the SET 100 Index
โดย
พัลลภ โค้ววรรณศรี(Panlop  Kowannasri)1
1นิสิตปริญญาเอก  ภาควิชาการเงิน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

บทคัดย่อ

                การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของกลุ่มหลักทรัพย์ที่อยู่ในดัชนี SET 100 กลุ่มหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นคุณค่า กลุ่มหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นเติบโต กลุ่มหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตลาดสูง และกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตลาดต่ำ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของหลักทรัพย์ในกลุ่มต่าง ๆ กับอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของกลุ่มหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นเติบโต  และความสัมพันธ์ระหว่างอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของหลักทรัพย์ในกลุ่มต่าง ๆ กับอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของกลุ่มหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นคุณค่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือหลักทรัพย์ที่อยู่ในดัชนี SET 100 ศึกษาในช่วงตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2549 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 โดยไม่นับรวมเอาบริษัทในกลุ่มธุรกิจการเงินมาศึกษา งานวิจัยครั้งนี้ได้นำการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุมาใช้ในการหาความสัมพันธ์
                ผลการศึกษาพบว่าหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นคุณค่ามีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยรายเดือนสูงที่สุด และหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นเติบโตมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยรายเดือนต่ำที่สุด ผลการวิเคราะห์ค่าความเสี่ยงโดยพิจารณาจากค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของอัตราผลตอบแทนรายเดือนพบว่าหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นคุณค่ามีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของอัตราผลตอบแทนรายเดือนสูงที่สุด และหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นเติบโตมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของอัตราผลตอบแทนรายเดือนต่ำที่สุด ผลการวิเคราะห์ค่าความเสี่ยงโดยพิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผันพบว่าหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นเติบโตมีค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผันสูงที่สุด และหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นที่มีมูลค่าตลาดต่ำมีค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผันต่ำที่สุด ผลการศึกษาความสัมพันธ์ของทั้งอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของกลุ่มหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นเติบโตและหุ้นคุณค่ากับตัวแปรอิสระแต่ละตัว พบว่าส่วนใหญ่แล้วมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ
คำสำคัญ : หลักทรัพย์หุ้นคุณค่า
Abstract

                The objectives of this study was to analyze the rate of return and the risk of securities listed in the SET 100  portfolio, the value portfolio, the growth portfolio, the high market capitalization portfolio, and the low market capitalization portfolio. In addition, the relationship between the excess rate of return on each portfolio with the excess rate of return on the growth portfolio and the relationship between the excess rate of returns on value portfolio were examined. The sample used in this study consisted of the securities listed in the SET 100 Index in the period of January 2006 to July 2011 which excluded the exclusive the financial services sector. This research applied multiple regression analysis to determine relationship.
                                The results revealed  the value portfolio to show the highest monthly return, whereas the growth portfolio to yield the lowest one. The risk measurement derived with the application of the standard deviation of the monthly return established the value portfolio as the highest and the growth portfolio as the lowest. In addition, the risk measured by the coefficient of variation revealed the growth portfolio as the highest and the low market capitalization portfolio as the lowest. The study on the relationship of the growth portfolio and the value portfolio excess returned with each independent variable revealed an almost significant correlations.

Keyword: Value  Stock


1นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต...........................................สาขาวิชา การเงิน................. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์................................... ปีที่สำเร็จการศึกษา 2556-2557..





1. บทนำ
ในปัจจุบันแนวคิดการลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investing) กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในประเทศไทย ซึ่งการลงทุนแบบเน้นคุณค่านั้นมีหลักการคือ การเลือกลงทุนในหุ้นที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น (Intrinsic Value) หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นหุ้นที่มีราคาต่ำกว่าพื้นฐานของหุ้น ซึ่งนักลงทุนเหล่านี้เชื่อว่า ในที่สุดแล้วราคาหุ้นจะปรับตัวเข้ามามูลค่าพื้นฐานเสมอ
การลงทุนในหุ้นโตเร็ว (Growth Investing) ซึ่งเป็นหลักการลงทุนที่เลือกลงทุนในหุ้นเติบโตเร็ว ซึ่งก็คือหุ้นที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน ทั้งยอดขายและกำไรของบริษัทเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเพิ่มขึ้นในอัตราที่เร็วกว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจ
การศึกษาในครั้งนี้จึงมุ่งเน้นการเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนของหุ้นสามัญในกลุ่มที่เป็นหุ้นคุณค่า (Value Stock) และหุ้นเติบโต (Growth Stock) ว่าหุ้นกลุ่มใดที่สามารถให้ผลตอบแทนที่ดีและมีความเสี่ยงต่ำที่สุดในการลงทุน และยังได้ทำการเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนของหุ้นสามัญที่มีมูลค่าตลาดสูง และหุ้นสามัญที่มีมูลค่าตลาดต่ำ นอกจากนี้ยังได้หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระต่าง ๆ กับอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นเติบโต และอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นคุณค่า เพื่อศึกษาว่ามีตัวแปรใดบ้างที่มีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังของหลักทรัพย์การศึกษาเรื่องการสื่อสารภายในองค์การของการประปานครหลวง ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อนักลงทุนและผู้ที่สนใจในการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการตัดสินใจในการลงทุนและการดำเนินธุรกิจให้เหมาะสมเพื่อให้การดำเนินงานของธุรกิจสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายต่อไป

2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อศึกษาและวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนของกลุ่มหลักทรัพย์ในดัชนี SET 100 กลุ่มหลักทรัพย์หุ้นเติบโต กลุ่มหลักทรัพย์หุ้นคุณค่า กลุ่มหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตลาดสูง และกลุ่มหลักทรัพ์ที่มีมูลค่าตลาดต่ำ

2.2 เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ค่าความสี่ยงของกลุ่มหลักทรัพย์ในดัชนี SET 100 กลุ่มหลักทรัพย์หุ้นเติบโต กลุ่มหลักทรัพย์หุ้นคุณค่า กลุ่มหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตลาดสูง และกลุ่มหลักทรัพ์ที่มีมูลค่าตลาดต่ำ โดยพิจารณาจากค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผันของหลักทรัพย์ในแต่ละกลุ่มที่ทำการศึกษา

2.3  เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของกลุ่มหลักทรัพย์หุ้นเติบโตและตัวแปรอิสระต่าง ๆ ได้แก่ อัตราผลตอบแทนส่วนเกินของหลักทรัพย์ในกลุ่มดัชนี SET 100 อัตราผลตอบแทนส่วนเกินระหว่างกลุ่มหลักทรัพย์ที่มี B/M Ratio สูงและกลุ่มหลักทรัพย์ที่มี B/M Ratio ต่ำ อัตราผลตอบแทนส่วนเกินระหว่างกลุ่มหลักทรัพ์ที่มีมูลค่าตลาดต่ำและกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตลาดสูง

                2.4  เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของกลุ่มหลักทรัพย์หุ้นคุณค่าและตัวแปรอิสระต่าง ๆ ได้แก่ อัตราผลตอบแทนส่วนเกินของหลักทรัพย์ในกลุ่มดัชนี SET 100 อัตราผลตอบแทนส่วนเกินระหว่างกลุ่มหลักทรัพย์ที่มี B/M Ratio สูงและกลุ่มหลักทรัพย์ที่มี B/M Ratio ต่ำ อัตราผลตอบแทนส่วนเกินระหว่างกลุ่มหลักทรัพ์ที่มีมูลค่าตลาดต่ำและกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตลาดสูง

3. วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
         
ทฤษฎีกลุ่มหลักทรัพย์ (Portfolio Theory)

1.  ผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์

                     ผลตอบแทนจากการลงทุน คือ ผลประโยชน์ที่ผู้ลงทุนจะได้รับจากการลงทุนในหลักทรัพย์นั้นๆ ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 ส่วน ดังนี้ (จิรัตน์  สังข์แก้ว, 2547)

                    1)  Yield คือกระแสเงินสดหรือรายได้ที่ผู้ลงทุนได้รับระหว่างช่วงระยะเวลาที่ลงทุน ซึ่งอาจจะอยู่ในรูของเงินปันผล (Dividend) หรือดอกเบี้ย (Interest) ที่ผู้ออกตราสารหรือหลักทรัพย์จ่ายให้แก่ผู้ลงทุน ซึ่งจะได้รับเมื่อถือหลักทรัพย์ไว้จนครบกำหนดระยะเวลาจ่ายเงินปันผลหรือดอกเบี้ย สำหรับเงินปันผลนั้นผู้ออกหลักทรัพย์อาจจะจ่ายในรูปเงินสดหรือหุ้นก็ได้

                    2)  Capital gain (loss) คือ กำไร (หรือขาดทุน) จากการขายหลักทรัพย์ ได้ในราคาที่สูงขึ้น (ต่ำสูง) กว่าราคาซื้อ หรือเรียกว่าเป็น การเปลี่ยนแปลงของราคา (Price Change) ของหลักทรัพย์นั่นเอง ในกรณีผู้ลงทุนอยู่ในภาวะซื้อเพื่อรอขาย (Long Position) ผลตอบแทนส่วนนี้ได้แก่ ค่าความแตกต่างระหว่างราคาที่จะขายหรือราคาขายหลักทรัพย์กับราคาซื้อ ในกรณีที่ผู้ลงทุนอยู่ในภาวะยืมหุ้นมาขาย (Short Position) ผลตอบแทนส่วนนี้ได้แก่ ราคาขายกับราคาที่จะซื้อ หรือราคาซื้อเพื่อล้างสถานะ

                2.  ความเสี่ยงจากการลงทุนในหลักทรัพย์

                     ผู้ลงทุนจะมีความพึงพอใจหรือความยินดีต่อความเสี่ยงไม่เท่ากัน (Pindyck and Rubinfeld, 2005) ทั้งนี้สามารถแบ่งประเภทของผู้ลงทุนตามอรรถประโยชน์ที่ได้รับเมื่อต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ดังนี้

                          1.  ผู้ลงทุนที่เป็นผู้หลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Risk Averse) สำหรับผู้ลงทุนประเภทนี้ในทุกระดับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น จะถูกชดเชยด้วยอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น กล่าวคือ ถ้าได้รับผลตอบแทนมากขึ้นโดยที่ความเสี่ยงเท่าเดิม ผู้ลงทุนประเภทนี้จะได้รับความพอใจสูงขึ้น

          2.  ผู้ลงทุนที่เป็นผู้เพิกเฉยต่อความเสี่ยง (Risk Neutral) ผู้ลงทุนประเภทนี้จะได้รับความพอใจสูงขึ้นก็ต่อเมื่อได้รับอัตราผลตอบแทนสูงขึ้นเท่านั้น เส้นอรรถประโยชน์ที่เป็นเส้นขนานกับแนวนอนแสดงว่า ณ ทุกระดับความเสี่ยงจะให้ความพอใจเท่ากัน หรือความเสี่ยงไม่มีผลต่อความพอใจ
          3.  ผู้ลงทุนที่ชื่นชอบความเสี่ยง (Risk Seeking) สำหรับผู้ลงทุนประเภทนี้ จะได้รับความพอใจสูงขึ้นเมื่อความเสี่ยงเพิ่มขึ้น


4. วิธีการดำเนินการวิจัย
                การเก็บรวบรวมข้อมูล
                ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลทุติยภูมิที่รวบรวมมาจาก
1.  ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งมีแหล่งที่มาจากเวปไซต์ www.setsmart.com โดยใช้ข้อมูลเป็นรายเดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 ถึง 31 กรกฏาคม พ.ศ. 2554
2.  ข้อมูลอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลอายุ 1 ปี จากสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
          การวิเคราะห์ข้อมูล
                การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนจะวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนจากกำไร/ขาดทุนจากการขายหลักทรัพย์ในวันสุดท้ายของเดือน เปรียบเทียบกับเงินลงทุนที่ซื้อหลักทรัพย์ในวันแรกของเดือน จากนั้นจะนำค่าที่ได้ไปวิเคราะห์หาอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ในแต่ละกลุ่มที่ทำการศึกษา ในด้านความเสี่ยงจะนำเครื่องมือทางสถิติมาช่วยวิเคราะห์ความเสี่ยงของหลักทรัพย์ในแต่ละกลุ่ม นอกจากนี้ยังใช้เครื่องมือทางสถิติมาช่วยวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระแต่ละตัวกับอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของกลุ่มหลักทรัพย์หุ้นคุณค่า และอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของกลุ่มหลักทรัพย์หุ้นเติบโต
                การศึกษาค่าความเสี่ยงของหลักทรัพย์ในแต่ละกลุ่มโดยพิจารณาจากค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของอัตราผลตอบแทนรายเดือนของหลักทรัพย์ในแต่ละกลุ่ม ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา (พ.ศ. 2549 – พ.ศ. 2554 ) สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ กลุ่มทรัพย์ในดัชนี SET 100 กลุ่มหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นเติบโต  กลุ่มหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นคุณค่า กลุ่มหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตลาดต่ำ และกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตลาดสูง มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของอัตราผลตอบแทนรายเดือนเท่ากับ 7.73%  7.40%  10.45%  8.97% และ7.74% ตามลำดับ ซึ่งพบว่ากลุ่มหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นคุณค่า และกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตลาดต่ำมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสูงกว่าค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มทรัพย์ในดัชนี SET 100 กลุ่มหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตลาดสูงมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานใกล้เคียงกับค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มทรัพย์ในดัชนี SET 100 มีเพียงกลุ่มหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นเติบโตเท่านั้นที่มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานต่ำกว่าค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มทรัพย์ในดัชนี SET 100
               
 5. ผลการวิจัย
          อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยรายเดือนของหลักทรัพย์ในแต่ละกลุ่ม ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา (พ.ศ. 2549 – พ.ศ. 2554 ) สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้  กลุ่มทรัพย์ในดัชนี SET 100 กลุ่มหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นเติบโต  กลุ่มหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นคุณค่า กลุ่มหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตลาดต่ำ และกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตลาดสูง มีอัตราผลตอบแทนเท่ากับ 1.48%  1.20%  2.30%  2.06%  และ1.45% ตามลำดับ ซึ่งพบว่ากลุ่มหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นคุณค่าและกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตลาดต่ำ มีอัตราผลตอบแทนสูงกว่าอัตราผลตอบแทนของกลุ่มทรัพย์ในดัชนี SET 100 กลุ่มหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตลาดสูงมีอัตราผลตอบแทนใกล้เคียงกับอัตราผลตอบแทนของกลุ่มทรัพย์ในดัชนี SET 100 มีเพียงกลุ่มหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นเติบโตเท่านั้นที่มีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยรายเดือนต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนของกลุ่มทรัพย์ในดัชนี SET 100 ทั้งนี้กลุ่มหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นคุณค่ามีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยรายเดือนสูงที่สุดในทุก ๆ กลุ่มหลักทรัพย์ที่ทำการศึกษา
การศึกษาค่าความเสี่ยงของหลักทรัพย์ในแต่ละกลุ่มโดยพิจารณาจากค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของอัตราผลตอบแทนรายเดือนของหลักทรัพย์ในแต่ละกลุ่ม ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา (พ.ศ. 2549 – พ.ศ. 2554 ) สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ กลุ่มทรัพย์ในดัชนี SET 100 กลุ่มหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นเติบโต  กลุ่มหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นคุณค่า กลุ่มหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตลาดต่ำ และกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตลาดสูง มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของอัตราผลตอบแทนรายเดือนเท่ากับ 7.73%  7.40%  10.45%  8.97% และ7.74% ตามลำดับ ซึ่งพบว่ากลุ่มหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นคุณค่า และกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตลาดต่ำมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสูงกว่าค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มทรัพย์ในดัชนี SET 100 กลุ่มหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตลาดสูงมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานใกล้เคียงกับค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มทรัพย์ในดัชนี SET 100 มีเพียงกลุ่มหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นเติบโตเท่านั้นที่มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานต่ำกว่าค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มทรัพย์ในดัชนี SET 100
          การศึกษาค่าความเสี่ยงของหลักทรัพย์ในแต่ละกลุ่มโดยพิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผันของหลักทรัพย์ในแต่ละกลุ่ม ซึ่งเป็นการวัดค่าความเสี่ยงต่ออัตราผลตอบแทน 1 หน่วย ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา (พ.ศ. 2549 – พ.ศ. 2554 ) สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ กลุ่มทรัพย์ในดัชนี SET 100 กลุ่มหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นเติบโต  กลุ่มหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นคุณค่า กลุ่มหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตลาดต่ำ และกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตลาดสูง มีค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผันเท่ากับ 5.21  6.16  4.54  4.34 และ 5.35 เท่า ตามลำดับ ซึ่งพบว่ากลุ่มหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นคุณค่า และกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตลาดต่ำมีค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผันต่ำกว่าค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผันของกลุ่มทรัพย์ในดัชนี SET 100 กลุ่มหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตลาดสูงมีค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผันใกล้เคียงกับค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผันของกลุ่มทรัพย์ในดัชนี SET 100 มีเพียงกลุ่มหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นเติบโตเท่านั้นที่มีค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผันสูงกว่าค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผันของกลุ่มทรัพย์ในดัชนี SET 100
เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงพบว่าหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นคุณค่ามีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยรายเดือนสูงที่สุดและมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสูงที่สุดเช่นกัน ในขณะที่หลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นเติบโตมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยรายเดือนต่ำที่สุดและมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานต่ำที่สุดเช่นกัน ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดทางการเงินที่ว่า หากการลงทุนใดมีความเสี่ยงสูง นักลงทุนย่อมต้องการอัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้นเพื่อชดเชยความเสี่ยงนั้น (High Risk, High Expected Return)

6. สรุปและอภิปรายผล
                การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของกลุ่มหลักทรัพย์ในดัชนี SET 100 อัตราผลตอบแทนส่วนเกินของกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตลาดต่ำ อัตราผลตอบแทนส่วนเกินของกลุ่มหลักทรัพย์ที่มี B/M Ratio สูง และอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของกลุ่มหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นเติบโตวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความถดถอย พบว่าอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของกลุ่มหลักทรัพย์ในดัชนี SET 100 มีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของกลุ่มหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ณ ระดับความเชื่อมั่น 95 % โดยอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของกลุ่มหลักทรัพย์ในดัชนี SET 100 มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของกลุ่มหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นเติบโต และพบว่าอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของกลุ่มหลักทรัพย์ที่มี B/M Ratio สูง มีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของกลุ่มหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ณ ระดับความเชื่อมั่น 95 % โดยอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของกลุ่มหลักทรัพย์ที่มี B/M Ratio สูง มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของกลุ่มหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นเติบโต ดังนั้นในช่วงที่เป็นภาวะตลาดขาลงควรเลือกลงทุนในหุ้นกลุ่มที่เป็นหุ้นเติบโต และหุ้นเติบโตที่เลือกลงทุนนั้นควรเป็นหุ้นเติบโตที่มี B/M Ratio ต่ำ ๆ นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตลาดต่ำไม่มีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของกลุ่มหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ณ ระดับความเชื่อมั่น 95 %

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของกลุ่มหลักทรัพย์ในดัชนี SET 100 อัตราผลตอบแทนส่วนเกินของกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตลาดต่ำ อัตราผลตอบแทนส่วนเกินของกลุ่มหลักทรัพย์ที่มี B/M Ratio สูง และอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของกลุ่มหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นคุณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความถดถอย พบว่าอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของกลุ่มหลักทรัพย์ในดัชนี SET 100 มีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของกลุ่มหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นคุณค่าอย่างมีนัยสำคัญ ณ ระดับความเชื่อมั่น 95 % โดยอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของกลุ่มหลักทรัพย์ในดัชนี SET 100 มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของกลุ่มหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นคุณค่า และพบว่าอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของกลุ่มหลักทรัพย์ที่มี B/M Ratio สูง มีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของกลุ่มหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นคุณค่าอย่างมีนัยสำคัญ ณ ระดับความเชื่อมั่น 95 % โดยอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของกลุ่มหลักทรัพย์ที่มี B/M Ratio สูง มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของกลุ่มหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นคุณค่า ดังนั้นในช่วงที่เป็นภาวะตลาดขาขึ้นควรเลือกลงทุนในหุ้นกลุ่มที่เป็นหุ้นคุณค่า และหุ้นคุณค่าที่เลือกลงทุนนั้นควรเป็นหุ้นคุณค่าที่มี B/M Ratio สูง  ๆ นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตลาดต่ำไม่มีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของกลุ่มหลักทรัพย์ในกลุ่มหุ้นคุณค่าอย่างมีนัยสำคัญ ณ ระดับความเชื่อมั่น 95 %


7. เอกสารอ้างอิง
กัลยา วานิชย์บัญชา.  2553.  การใช้ SPSS for Window ในการวิเคราะห์ข้อมูล.  พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพมหานคร: บริษัทธรรมสาร จำกัด.

กัลยา วานิชย์บัญชา.  2553.  การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย Excel. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.

จิรัตน์ สังข์แก้ว.  2545.  การลงทุน.  กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.  2552.  ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับตลาดการเงินและการลงทุนในหลักทรัพย์สำหรับผู้ขายหลักทรัพย์ (Single License). พิมพ์ครั้งที่ 9 (ฉบับปรับปรุง).  กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.  2554.  ข้อมูลดัชนีราคาหลักทรัพย์และราคาปิดของหลักทรัพย์ (Online).  http://www.setsmart.com., 5 สิงหาคม 2554.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.  2554.  ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (Online).  http://www.set.or.th., 12 กันยายน 2554.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

HR